รู้หรือไม่…ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 75.6% ที่เสียชีวิตไม่ใส่หมวกกันน็อค และมีเด็กไทยเพียง 7% เท่านั้น ที่พ่อ-แม่ ใส่หมวกกันน็อคให้ระหว่างการเดินทาง วันนี้เราจึงนำเรื่องราวของ หมวกกันน็อคล็อคชีวิต มาฝากผู้ใช้รถจักรยานยนต์ทุกคน “เพราะบนท้องถนนไม่มีระยะปลอดภัยสำหรับคนไม่ใส่หมวก”
- ใส่หมวกกันน็อค
– 69% ช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บศีรษะและสมอง โดยส่วนใหญ่อุบัติเหตุมักจะเกิดการบาดเจ็บที่หน้าผาก ศีรษะด้านบน รองลงมาคือศีรษะด้านข้าง และด้านหลังท้ายทอย
– 39% ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของคนขับ และคนซ้อนท้าย
- ไม่ใส่หมวกกันน็อค หากเกิดอุบัติเหตุ จะเสียค่ารักษามากกว่าผู้สวมหมวกกันน็อคถึง 3 เท่า
– 96.8% คนซ้อนท้ายเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
– 92.8% คนขับเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
– 65% มีโอกาสบาดเจ็บทางศีรษะ
- เรื่องควรรู้ของหมวกกันน็อค
– หมวกกันน็อคที่ดีจะต้องมีเครื่องหมายการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีสายรัดคาง มีรูระบายอากาศ ช่องฟังเสียง ที่บังลมโปร่งแสง
– ควรเปลี่ยนทุก 3 ปี นับจากวันผลิต เนื่องจากเนื้อโฟมจะเสื่อมสภาพลงจากการใช้งาน หากเกิดอุบัติเหตุได้รับแรงกระแทกอาจยุบตัวผิดรูป มีผลต่อผู้ขับขี่ได้รับแรงกระแทกแบบเต็มๆ เพราะวัสดุที่เป็นโฟมจะไม่ซับแรงอีกต่อไป
– ควรเปลี่ยนใหม่ทันที หลังจากถูกกระแทกจากการประสบอุบัติเหตุ เพราะแผ่นรองรับแรงกระแทกได้ถูกใช้งานไปแล้ว ไม่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ซ้ำ
– การขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่ใส่หมวกกันน็อค มีโทษปรับ 500 บาท และหากมีคนซ้อนท้ายไม่ใส่หมวกมีโทษปรับ 500 บาท คนขับจะต้องโดนปรับ 2 เท่า ฐานไม่ใส่หมวกให้ตัวเอง กับไม่จัดให้คนซ้อนใส่หมวก
– การใส่หมวกกันน็อคควรรัดคางในระดับที่พอดีทุกครั้งทั้งคนขับและคนซ้อนท้าย ไม่ว่าจะขับขี่ในระยะทางใกล้หรือไกล เพื่อลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยให้ตัวคุณและคนที่คุณรัก