ทำความรู้จัก รถขนส่งวัตถุอันตราย ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
รถขนส่งวัตถุอันตราย บรรทุกสินค้าอันตราย จำแนกเป็น 9 ประเภท ดังนี้
- ประเภทที่ 1 สารและสิ่งของระเบิด เช่น กระสุนปืน ระเบิดทีเอ็นที
ประเภทที่ 2 ก๊าซ เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ประเภทที่ประเภทที่ 4.1 ของแข็งไวไฟ เช่น ไม้ขีดไฟ กำมะถัน แมกนีเซียมประเภทที่ 4.2 สารที่เสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง เช่น เนื้อมะพร้าวแห้ง
ประเภทที่ 4.3 สารที่สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ เช่น ถ่านแก๊สก้อน โซเดียมประเภทที่ 5.1 สารออกซิไดซ์ เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ด่างทับทิม
ประเภทที่ 5.2 สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ เช่น เมธทิว เอททิล คีโตน เปอร์ออกไซด์ประเภทที่ 6.1 สารพิษ เช่น โซเดียมไซยาไนด์ ไซยาไนด์
ประเภทที่ 6.2 สารติดเชื้อ เช่น ของเสียทางการแพทย์ โคโรน่าไวรัสประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี เช่น ยูเรเนียม โคบอลต์ 60
ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน เช่น โซดาไฟ กรดกำมะถัน
ประเภทที่ 9 สารและสิ่งของอันตรายเบ็ดเตล็ด เช่น ยางมะตอย แร่ใยหิน แบตเตอรี่ลิเทียม
- รู้ได้อย่างไร…? รถคันไหนบรรทุกสารอันตรายประเภทใด
สังเกตป้ายสีส้ม และป้ายแสดงความเป็นอันตราย ที่ติดอยู่ข้างแท็งค์ และด้านท้ายของรถ
- หากพบเห็น รถขนส่งวัตถุอันตราย เกิดอุบัติเหตุต้องทำอย่างไร…?
– ตั้งสติ เว้นระยะ ออกห่างจากพื้นที่เกิดเหตุ
– โทรแจ้งเหตุกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดที่ไหน อย่างไร
สายด่วน 191 แจ้งเหตุ
สายด่วน 199 กรณีไฟไหม้
สายด่วน 1650 กรณีสารเคมีรั่วไหล ศูนย์สนับสนุนการปฎิบัติการฉุกเฉินสารเคมี
สายด่วน 1669 เจ็บป่วยฉุกเฉิน มีคนบาดเจ็บ
- ประชาชนทั่วไปควรเว้นระยะห่าง ไม่ควรขับตามหลังรถบรรทุกวัตถุอันตราย แม้ว่ามีถังบรรจุแน่นหนาปลอดภัยในระดับหนึ่งแล้ว แต่หากเกิดอุบัติเหตุ สารเคมีอาจรั่วไหล เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ลุกลามได้
- อย่าสูบบุหรี่หรือก่อประกายไฟ ใกล้กับรถประเภทนี้เด็ดขาดนะครับ